ข้าวเหนียวต้มใบกะพ้อ (บ้านผมเรียกข้าวต้มใบพ้อ)
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓

  
วัตถุดิบ มี ถั่วตาไก่ , ข้าวเหนียว , กระทิ (ยังเป็นมะพร้าวขูดอยู่เลย) ส่วนหม้อเขียวไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ (เห็นสีฟ้าชัดๆ แต่เค้าเรียกหม้อเขียว)


  
ถั่วตาไก่ อันนี้สำคัญ ถ้าไม่ใส่ จะไม่อร่อยเลย


  
คั่นน้ำกระทิ ลงกะทะทีเดียวเลย


  
นำข้าวเหนียว และ ถั่วตาไก่ มาใส่กะทะ ที่มีน้ำกระทิ
ใส่น้ำตาลทราย และเกลือ ตามรสชาตที่ชอบ


  
ตั้งบนเตาไฟ


  
ต้องหาไม้พายอันเล็ก ๆ มาคนไปเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้ติดก้นกะทะ


  
มัววุ่นกะเรื่องอื่นแป๊บเดียว ข้าวเหนียวพร้อมที่จะนำมาห่อแล้ว (กะทะหาย) อันนี้ยังดิบอยู่น่ะครับ


  
เริ่มลงมือห่อกันหล่ะ เอาใบกะพ้อมาทำแบบนี้


  
แล้วเอาข้าวเหนียวใส่ลงไป อัดให้เกือบแน่น


  
แล้วก็หมุน ๆ จนได้รูปทรงเป็นแบบนี้ ซึ่งเรียกรูปทรงแบบนี้ว่า "ต้มโจงกระเบน"
(ตอนหมุนไม่มีใครถ่ายภาพให้ เลยอดดูภาพประกอบ)


  
ซ้ายมือ เรียกว่า "รูปต้ม" คือการเอาใบยอดของต้นกะพ้อ มาคลี่ออกแล้วพันเป็นรูปข้าวต้ม
โดยเอาด้านกระดูกใบเข้าด้านใน เพื่อให้ใบกางออกซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการที่จะเอาข้าวเหนียวใส่ลงไปภายหลัง
(อันนี้ต้องทำเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้านะครับซักวันหรือครึ่งวัน)
ขวามือ คือห่อข้าวต้มที่มีข้าวเหนียวอยู่ข้างในแล้ว (เวลาจะเอาข้าวเหนียวใส่ลงไปในห่อ
จะกลับเอากระดูกใบไว้ด้านนอก)


  
อันนี้ข้าวต้มห่อจิ๋ว ลองห่อเล่นๆ (เล่นแบบนี้ถ้าคุณปู่เห็นคงจะโดนตี)


  
เปรียบเทียบข้าวต้มห่อจิ๋ว กับ ข้าวต้มห่อปกติ


  
รูปแบบการห่อข้าวต้มที่แตกต่าง (การห่อลักษณะทรงยาว ๆ แบบนี้มีในท้องถิ่นสุราษฯ , นครศรีฯ ซึ่งจะต่างไปจากท้องถิ่นอื่น)


  
ภาพนี้คุณย่ากำลังห่อข้าวต้มอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า "ต้มยาว"


  
ต้มยาว ฝีมือคุณย่า (ทรงนี้ผมห่อไม่เป็นครับ) ส่วนห่อสีเขียว ๆ ทางซ้ายมือนั้นคุณย่าทดลองเอาใบเตยหอมมาห่อแทนใบกะพ้อ


  
ผลงานการห่อ (ห่อกันสามคน มี คุณย่า คุณป้า และผม)


  
ยังเหลือข้าวเหนียวอีกตั้งครึ่ง


  
อันนี้ห่อเสร็จสรรพ จนข้าวเหนียวหมดแล้ว ได้จำนวนห่อเยอะทีเดียว


  
นำมาวางเรียงในหม้อนึ่ง


       
เมื่อก่อนใช้ "รังซึ้ง" นึ่งด้วยถ่าน แต่เดี๋ยวนี้เค้าใช้หม้อไฟฟ้ากันแล้ว   (ภาพทางขวามือคือ "รังซึ้ง" ที่เคยถ่ายเอาไว้นานแล้ว)


  
ตั้งเวลาไว้ 35 นาที (
เรียกข้าวต้ม แต่เอามานึ่ง แปลกดีไหม ?)

  
เกือบจะได้กินแล้ว...รออีกห้านาที


  
ครบ 35 นาทีที่ตั้งเอาไว้แล้วก็ยกลงจากหม้อนึ่ง
(อันนี้คุณป้าเค้าใช้ประสบการณ์ครับว่าต้อง 35 นาที จึงจะสุกพอดี)  


  
อันนี้ใครจะกิน ระวังฟันหลุดครับ...มันยังร้อนนนนนน


  
คุณย่าเอามาวางเรียนในกระจาดแบบนี้


  
(ภาพที่เคยเห็นตั้งแต่ผมยังเด็กเริ่มจำความได้ คุณย่าก็วางเรียงอยู่แบบนี้แหล่ะ)


  
ไม่ลืมที่จะเอาห่อจิ๋วมาเทียบกับห่อปกติ (หลังจากสุกแล้ว)


  
อันนี้กำลังทดสอบ "ต้มยาว" ใบเตยหอมของคุณย่า


  
ก็หอมอร่อยไปอีกแบบ


  
วันรุ่งขึ้นก็เอามาเพิ่มรสชาติโดยการย่างไฟถ่าน


  
เป็นวิธีถนอมอาหารอีกแบบหนึ่ง


  
คุณย่าเห็นหลานชายชอบทานแบบนี้ เลยย่างซ่ะหมดกระจาดเชียว